ข้อบังคับสมาคมชาวศรีสะเกษ
พุทธศักราช ๒๕๖๒
หมวดที่ ๑
ความทั่วไป
ข้อ ๑ สมาคมนี้มีชื่อว่า สมาคมชาวศรีสะเกษ เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า SISAKET ASSOCIATION ย่อว่า สศก.
ข้อ ๒ เครื่องหมายของสมาคมมีลักษณะเป็นรูปวงกลม ตรงกลางวงกลมเป็นดอกลําดวนสีเหลืองสี่กลีบ
ในวงกลมด้านบน มีข้อความว่า สมาคมชาวศรีสะเกษ ในวงกลมด้านล่างมีข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า
SISAKET ASSOCIATION ดังรูปที่ปรากฎด้านล่างนี้
ข้อ ๓ สํานักงานใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ ณ ๙๑/๑๙๔ ซอยสวนสยาม ๙ แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร
ข้อ ๔ วัตถุประสงค์ของสมาคม เพื่อ
๔.๑ ส่งเสริมการศึกษาของนักเรียน นักศึกษา ชาวศรีสะเกษ
๔.๒ ส่งเสริมวัฒนธรรมอันดีงามของชาวศรีสะเกษ
๔.๓. ส่งเสริมความสามัคคีในการดำเนินกิจการร่วมกันเพื่อประโยชน์สุขแก่ชาวศรีสะเกษ และท้องถิ่นเป็น
ส่วนรวม
๔.๔ ร่วมประกอบกิจกรรมอันเป็นการกุศลสาธารณะประโยชน์ของสังคมและประเทศชาติ
๔.๕ สงเคราะห์สมาชิกสมาคม และชาวศรีสะเกษในด้านการอาชีพ และอื่น ๆ
๔.๖ ส่งเสริมสวัสดิภาพ และสวัสดิการของสมาชิกสมาคม
๔.๗ ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความเป็น
กลางและไม่สนับสนุนด้านการเงินหรือทรัพย์สินแก่นักการเมืองหรือพรรคการเมืองใด
หมวดที่ ๒
สมาชิก
ข้อ ๕ สมาชิกของสมาคมมี ๒ ประเภท คือ
๕.๑ สมาชิกสามัญ ได้แก่ ผู้ทรงคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
๕.๑.๑ ผู้ที่กําเนิดในจังหวัดศรีสะเกษ
๕.๑.๒ เคยมีภูมิลําเนาในจังหวัคศรีสะเกษ
๕.๑.๓ ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน คู่สมรสของบุคคลในข้อ ๕.๑.๑ และ ๕.๑.๒ ไม่ว่าจะมีถิ่นกําเนิด
หรือภูมิลำเนาอยู่ที่ใด
๕.๑.๔ ผู้ที่เคยศึกษาอยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ
๕.๑.๕ ผู้ที่เคยรับราชการในจังหวัดศรีสะเกษ
๕.๒ สมาชิกกิตติมศักคิ์ ได้แก่ บุคคลผู้ทรงเกียรติ หรือทรงคุณวุฒิ หรือผู้มีอุปการคุณแก่สมาคม ซึ่ง
คณะกรรมการ ลงมติให้เชิญเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม
ข้อ ๖ สมาชิกจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
๖.๑ เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว
๖.๒ เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย
๖.๓ ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ
๖.๔ ไม่ต้องคําพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลาย หรือ ไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือต้องโทษจําคุก ยกเว้นความผิดฐานประมาท หรือลหุโทษ การต้องคำพิพากษาของศาล ถึงที่สุดในกรณีดังกล่าว จะต้องเป็นในขณะที่สมัครเข้าเป็นสมาชิก หรือในระหว่างที่เป็นสมาชิกของสมาคมเท่านั้น
ข้อ ๗ ค่าลงทะเบียน และ ค่าบํารุงสมาคม
๗.๑ สมาชิกสามัญจะต้องเสียค่าลงทะเบียนเป็นครั้งแรก ๑๐๐ บาท และ ค่าบารุงเป็นรายปีๆ ละ ๑๐๐ บาท หรือค่าลงทะเบียนตลอดชีพ ๕oo บาท
๗.๒ สมาชิกกิตติมศักดิ์มิต้องเสียค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคมแต่อย่างใดทั้งสิ้น
ข้อ ๘ การสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม ให้ผู้ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมยื่นใบสมัครตามแบบ ของสมาคมต่อเลขานุการ โดยมีสมาชิกสามัญรับรองอย่างน้อย ๑ คน และให้เลขานุการติดประกาศรายชื่อ
ผู้สมัครไว้ ณ สํานักงานของสมาคมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน เพื่อให้สมาชิกอื่นๆ ของสมาคมได้คัดค้าน
การสมัครนั้น เมื่อครบกําหนดประกาศแล้ว ก็ให้เลขานุการนำใบสมัครและหนังสือคัดค้านของสมาชิก (ถ้า
มี) เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาอนุมัติ ว่าจะรับหรือไม่รับเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม
และเมื่อ คณะกรรมการพิจารณาการสมัครแล้ว ผลเป็นประการใดให้เลขานุการเป็นผู้แจ้งให้ผู้สมัครทราบ
โดยเร็ว
ข้อ ๙ ถ้าคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติให้ผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิก ก็ให้ผู้สมัครนั้นชำระเงินค่าลงทะเบียนและค่า
บำรุงสมาคม ให้เสร็่จภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเลขานุการ และสมาชิกภาพของผู้สมัครให้
เริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้สมัคร ได้ชําระเงินค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ถ้าผู้สมัคร
ไม่ชําระเงินค่าลงทะเบียนและค่าบํารุงภายในกําหนด ก็ให้ถือว่าการสมัครคราวนั้นเป็นอันยกเลิก
ข้อ ๑๐ สมาชิกภาพของสมาชิกกิตติมศักดิ์ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่หนังสือตอบรับค่าเชิญของผู้ที่คณะกรรมการได้พิจารณา ลงมติให้เชิญเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมได้มาถึงยังสมาคม
ข้อ ๑๑ สมาชิกภาพของสมาชิกให้สิ้นสุดลงด้วยเหตุดังต่อไปนี้
๑๑.๑ ตายหรือสิ้นสภาพนิติบุคคล
๑๑.๒ ลาออกโดยยื่นหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรต่อนายกสมาคม เมื่อหนังสือลาออกถึงนายกสมาคม
แล้วให้มีผลทันที
๑๑.๓ ขาดคุณสมบัติสมาชิก
๑๑.๔ ที่ประชุมใหญ่ของสมาคมหรือคณะกรรมการได้พิจารณาลงมติให้ลบชื่อออกจากทะเบียนเพราะ
สมาชิก ผู้นั้นได้ประพฤตินำความเสื่อมเสียมาสู่สมาคม
ข้อ ๑๒ สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
๑๒.๑ มีสิทธิเข้าใช้สถานที่ของสมาคมโดยเท่าเทียมกัน
๑๒.๒ มีสิทธิเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการของสมาคมต่อคณะกรรมการ
๑๒.๓ มีสิทธิได้รับสวัสดิการต่างๆ ที่สมาคมได้จัดให้มีขึ้น
๑๒.๔ มีสิทธิเข้าร่วมประชุมใหญ่ของสมาคม
๑๒.๕ สมาชิกสามัญมีสิทธิในการเลือกตั้ง หรือได้รับการเลือกตั้ง หรือแต่งตั้งเป็นกรรมการสมาคมและ
มีสิทธิออกเสียงลงมติต่างๆ ในที่ประชุมได้คนละ ๑ คะแนนเสียง
๑๒.๖ มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการ เพื่อตรวจสอบเอกสารและบัญชีทรัพย์สินของสมาคม
๑๒.๗ มีสิทธิเข้าชื่อร่วมกันอย่างน้อย ๑ ใน ๓ ของสมาชิกสามัญทั้งหมด ร้องขอต่อคณะกรรมการให้จัด
ประชุมใหญ่วิสามัญได้
๑๒.๘ มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติ และข้อบังคับของสมาคมโดยเคร่งครัด
๑๒.๙ มีหน้าที่ประพฤติตนให้สมกับเกียรติที่เป็นสมาชิกของสมาคม
๑๒.๑๐ มีหน้าที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินกิจการต่างๆ ของสมาคม
๑๒.๑๑ มีหน้าที่ร่วมกิจกรรมที่สมาคมได้จัดให้มีขึ้น
๑๒.๑๒ มีหน้าที่ช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงของสมาคมให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
หมวดที่ ๓
การดําเนินการสมาคม
ข้อ ๑๓ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง มีหน้าที่บริหารกิจการของสมาคม มีจำนวนอย่างน้อย ๒๑ คน อย่างมากไม่เกิน ๓๑ คน คณะกรรมการนี้ต้องเป็นสมาชิกสามัญและจำนวนกรรมการกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดได้มาจากที่ประชุมใหญ่สมาคมเป็นผู้คัดเลือก กรรมการที่เหลืออีกกึ่งหนึ่งนั้น ให้นายกสมาคมเป็นผู้แต่งตั้งให้กรรมการที่ได้รับการคัดเลือกจากที่ประชุมใหญ่ เลือกกันเองให้เป็นนายกสมาคม ๑ คน นายกสมาคม เป็นผู้แต่งตั้งอุปนายก ๓ คน รวมถึงกรรมการในตำแหน่งต่าง ๆ ซึ่งตำแหน่งของกรรมการสมาคมมีตำแหน่งและหน้าที่ดังต่อไปนี้
๑๓.๑ นายกสมาคม ทําหน้าที่เป็นหัวหน้าในการบริหารกิจการของสมาคม เป็นผู้แทนสมาคมในการ
ติดต่อกับบุคคลภายนอก และทําหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการ
และการประชุมใหญ่ของสมาคม เป็นผู้ลงนามในระเบียบและคําสั่งของสมาคม
๑๓.๒ อุปนายก ทําหน้าที่เป็นผู้ช่วยนายกสมาคมในการบริหารกิจการสมาคม ปฏิบัติหน้าที่ตาม
ที่นายกสมาคมได้มอบหมายและทําหน้าที่แทนนายกสมาคม เมื่อนายกสมาคม
ไม่อยู่หรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ แต่การทำหน้าที่แทนนายกสมาคมให้
อุปนายกตามลําดับตําแหน่งเป็นผู้กระทําการแทน
๑๓.๓ เลขานุการ ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการของสมาคมทั้งหมด เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ของ
สมาคมในการปฏิบัติกิจการของสมาคม และปฏิบัติตามคําสั่งของนายกสมาคม
ตลอดจนทําหน้าที่จัดดำเนินการประชุมต่าง ๆ ของสมาคมแจกจ่ายและจัดเก็บ
เอกสารการประชุม และเป็นเลขานุการในการประชุมต่างๆ ของสมาคม
๑๓.๔ เหรัญญิก มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินทั้งหมดของสมาคม เป็นผู้จัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย
บัญชีงบดุลของสมาคมและเก็บเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการเงินและบัญชีของสมาคมไว้เพื่อตรวจสอบ
๑๓.๕ ปฏิคม มีหน้าที่ในการให้การต้อนรับแขกของสมาคม เป็นหัวหน้าในการจัดเตรียม
สถานที่ของสมาคมและจัดเตรียมสถานที่ประชุมต่างๆ ของสมาคม
๑๓.๖ นายทะเบียน มีหน้าที่เกี่ยวกับทะเบียนสมาชิกทั้งหมดของสมาคม เรียกเก็บเงินค่าบํารุง
สมาคมจากสมาชิกแล้วนำส่งเหรัญญิก พร้อมทั้งเก็บรักษาหลักฐานเกี่ยวกับการจดทะเบียนต่อนายทะเบียนสมาคม หรือจากทางราชการ
๑๓.๗ ประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่เผยแพร่กิจการและชื่อเสียงเกียรติคุณของสมาคมให้สมาชิกและบุคคล
โดยทั่วไปให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย
๑๓.๘ สาราณียกร มีหน้าที่จัดทำบรรดาเอกสารต่างๆ เช่น ข่าวสาร วารสาร แถลงการณ์ และ
จัดทําหลักฐานการเงินการบัญชีเกี่ยวกับการนั้นๆ รวมทั้งเก็บข้อมูล หลักฐานเอกสาร ในการนั้น ๆ ไว้ไห้ตรวจสอบได้
๑๓.๙ กรรมการตำแหน่งอื่นๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งคณะกรรมการเห็นสมควรกําหนดให้มีขึ้น โดยมี
จำนวนเมื่อรวมกับตําแหน่งกรรมการตามข้างต้นแล้ว จะต้องไม่เกินจํานวนที่ข้อบังคับได้กําหนดไว้ แต่ถ้าคณะกรรมการมิได้กําหนดตําแหน่ง ก็ถือว่าเป็นกรรมการกลาง
ข้อ ๑๔ นายกสมาคมอยู่ในตำแหน่งคราวละ ๓ ปี และติดต่อกันไม่เกิน ๒ วาระ นับตั้งแต่ได้รับการจดทะเบียน คณะกรรมการอยู่ในตําแหน่งคราวละ ๓ ปี นับตั้งแต่ได้รับการจดทะเบียน ในกรณีคณะกรรมการอยู่ในตําแหน่งครบกําหนดตามวาระแล้ว แต่คณะกรรมการชุดใหม่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนจากทางราชการก็ให้คณะกรรมการที่ครบกําหนดตามวาระรักษาการไปพลางก่อน จนกว่าคณะกรรมการชุดใหม่จะได้รับจดทะเบียนจากทางราชการ และเมื่อคณะกรรมการชุดใหม่ได้รับการจดทะเบียนจากทางราชการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ให้ทําการส่งและรับมอบงานกัน ระหว่างคณะกรรมการชุดเก่าและคณะกรรมการชุดใหม่ให้เป็นที่เสร็จสิ้น ภายใน ๑๐ วัน นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการชุดใหม่ได้รับจดทะเบียนจากทางราชการ
ข้อ ๑๕ ตำแหน่งกรรมการสมาคม ถ้าต้องว่างลงก่อนครบกําหนดตามวาระ ก็ให้นายกสมาคมแต่งตั้งสมาชิกสามัญ คนใดคนหนึ่งที่เห็นสมควรเข้าดำรงตำแหน่งแทนตำแหน่งที่ว่างลงนั้น แต่ผู้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งได้เท่ากับวาระของผู้ที่ตนแทนเท่านั้น และถ้าเป็นตำแหน่งนายกสมาคมว่างก็ให้คณะกรรมการเลือกกันเองเป็นนายกสมาคม
ข้อ ๑๖ กรรมการอาจจะพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งมิใช่เป็นการออกตามวาระด้วยเหตุผลต่อไปนี้ คือ
๑๖.๑ ตาย
๑๖.๒ ลาออก
๑๖.๓ ขาดจากสมาชิกภาพตามข้อบังคับและตามที่กฎหมายได้กําหนดไว้
๑๖.๔ ที่ประชุมใหญ่ลงมติให้ออกจากตำแหน่ง
๑๖.๕ เป็นผู้มีความประพฤติและปฏิบัติตนเป็นที่เสื่อมเสียและคณะกรรมการสมาคมมีมติให้ออก โดยมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๓ ใน ๔ ของคณะกรรมการของสมาคม
ข้อ ๑๗ กรรมการที่ประสงค์จะลาออกจากตําแหน่งกรรมการ ให้ยื่นใบลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรต่อนายกสมาคม เมื่อหนังสือลาออกถึงนายกสมาคมแล้วให้มีผลทันที
ข้อ ๑๘ อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ
๑๘.๑ มีอำนาจออกระเบียบปฏิบัติต่างๆเพื่อให้สมาชิกได้ปฎิบัติ โดยระเบียบปฏิบัตินั้นจะต้องไม่ขัดต่อข้อบังคับฉบับนี้ ๑๘.๒ มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ของสมาคม
๑๘.๓ มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษา หรืออนุกรรมการได้ แต่กรรมการที่ปรึกษา หรืออนุกรรมการ จะสามารถอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกินวาระของคณะกรรมการที่แต่งตั้ง
๑๘.๔ มีอํานาจเรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปี และประชุมใหญ่วิสามัญ
๑๘.๕ มีอํานาจแต่งตั้งกรรมการในตำแหน่งอื่นๆ ที่ยังมิได้กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้
๑๘.๖ มีอํานาจบริหารกิจการของสมาคม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตลอคจนมีอำนาจอื่น ๆ ตามที่ ข้อบังคับได้กําหนดไว้
๑๘.๗ มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการทั้งหมด รวมทั้งการเงินและทรัพย์สินทั้งหมดของสมาคม
๑๘.๘ มีหน้าที่จัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญ ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควรหรือตามที่สมาชิกสามัญ จำนวน ๑ ใน ๓ ของสมาชิกทั้งหมด ได้เข้าชื่อร้องขอให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญขึ้น ซึ่งการนี้จะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญขึ้นภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องขอจากสมาชิกสามัญ
๑๘.๙ มีหน้าที่จัดทําเอกสารหลักฐานต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการเงิน ทรัพย์สินและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของสมาคมให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและสามารถจะให้สมาชิกตรวจดูได้เมื่อสมาชิกร้องขอ
๑๘.๑๐ จัดทำบันทึกการประชุมต่าง ๆ ของสมาคม เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานและจัดส่งให้กรรมการได้รับทราบ
๑๘.๑๑ มีหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ข้อบังคับได้กําหนดไว้
ข้อ ๑๙ คณะกรรมการจะต้องประชุมกันอย่างน้อยสามเดือนครั้ง โดยให้จัดขึ้นภายในสัปดาห์ที่ ๒ ของทุกเดือน ทั้งนี้ เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการบริหารกิจการของสมาคม
ข้อ ๒๐ การประชุมคณะกรรมการ จะต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม มติของที่ประชุมคณะกรรมการ ถ้าข้อบังคับมิได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่นก็ให้ถือ คะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันก็ให้ประธานในการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ ๒๑ ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้านายกสมาคมและอุปนายกสมาคมไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติ หน้าที่ได้ก็ให้กรรมการที่เข้าประชุมในคราวนั้นเลือกกันเองเพื่อให้กรรมการคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่ เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น
หมวดที่ ๔
การประชุมใหญ่
ข้อ ๒๒ การประชุมใหญ่ของสมาคมมี ๒ ชนิด คือ
๒๒.๑ การประชุมใหญ่สามัญ
๒๒.๒ การประชุมใหญ่วิสามัญ
ข้อ ๒๓ คณะกรรมการจะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ปีละ ๑ ครั้ง ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี
ข้อ ๒๔ การประชุมใหญ่วิสามัญ อาจะมีขึ้นได้ก็โดยเหตุที่คณะกรรมการเห็นควรจัดให้มีขึ้น หรือเกิดขึ้นด้วยการเข้าชื่อร่วมกันของสมาชิกจํานวนไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด ทําหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการของสมาคมให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญก็ได้ ในหนังสือร้องขอนั้นต้องระบุว่าประสงค์ให้เรียกประชุมเพื่อการใด เมื่อคณะกรรมการของสมาคมได้รับหนังสือร้องขอให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญตามวรรคแรก ให้คณะกรรมการของสมาคมเรียกประชุมใหญ่วิสามัญ โดยจัดให้มีการประชุมขึ้นภาขใน ๓๐ นับแต่วันที่ได้รับคำขอ
ข้อ ๒๕ การแจ้งกําหนดนัดประชุมใหญ่ให้เลขานุการเป็นผู้แจ้งกําหนดนัดประชุมใหญ่ให้สมาชิกได้ทราบและการแจ้งจะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร โดยระบุวัน เวลาและสถานที่ให้ชัดเจน โดยจะต้องแจ้งให้สมาชิกได้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๗ วัน และประกาศแจ้งกําหนดนัดประชุมไว้ ณ สำนักงานของสมาคมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๗ วัน ก่อนถึงกำหนดประชุมใหญ่หรือลงพิมพ์โฆษณาอย่างน้อยสองคราวในหนังสือพิมพ์ที่แพร่หลายในท้องที่ฉบับหนึ่ง ก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า ๗ วันก็ได้
ข้อ ๒๖ การประชุมใหญ่สามัญประจําปี จะต้องมีวาระการประชุมอย่างน้อยดังต่อไปนี้
๒๖.๑ แถลงกิจการที่ผ่านมาในรอบปี
๒๖.๒ แถลงบัญชีรายรับ รายจ่ายและบัญชีงบดุลของปีที่ผ่านมาให้สมาชิกรับทราบ
๒๖.๓ เลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เมื่อครบกําหนดวาระ
๒๖.๔ เลือกตั้งผู้สอบบัญชี
๒๖.๕ ตรวจสอบทะเบียนสมาชิกให้เป็นปัจจุบัน
๒๖.๖ เรื่องอื่นๆ ถ้ามี
ข้อ ๒๗ ในการประชุมใหญ่สามัญประจําปีหรือการประชุมใหญ่วิสามัญ ต้องมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ ของสมาชิกสามัญทั้งหมด จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม แต่ถ้าเมื่อถึงกําหนดเวลาการประชุมยังมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุมก็ให้เลื่อนประชุมคราวนั้นไป และให้นัดประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่งภายใน ๑๔ วัน นับตั้งแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรก การประชุมครั้งหลังนี้ไม่บังคับว่าจะต้องครบองค์ประชุม
ข้อ ๒๘ การลงมติต่างๆ ในที่ประชุมใหญ่ ถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ก็ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์แต่ถ้าคะแนนเสียงที่ลงมติมีคะแนนเสียงเท่ากัน ก็ให้ประธานในการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ ๒๙ ในการประชุมใหญ่ของสมาคม ถ้านายกสมาคมและอุปนายกสมาคมไม่มาร่วมประชุมหรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ให้ที่ประชุมใหญ่ทำการเลือกกรรมการที่มาร่วมประชุมคนใดคนหนึ่ง ให้ท่าหน้าที่เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น
หมวดที่ ๕
การเงินและทรัพย์สิน
ข้อ ๓๐ การเงินและทรัพย์สินทั้งหมดให้อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการ เงินสดของสมาคม ถ้ามีให้นำฝากไว้ในธนาคาร หากจะนําไปลงทุนในการซื้อสลากออมสิน หรือซื้อพันธบัตรรัฐบาล จะต้องเป็นมติของคณะกรรมการให้ความเห็นชอบก่อน
ข้อ ๓๑ การลงนามในตั๋วเงินหรือเช็คของสมาคมจะต้องมีลายมือชื่อของนายกสมาคม หรือผู้ทําการแทนลงนามร่วม กับเหรัญญิกหรือเลขานุการ พร้อมกับประทับตราสมาคม จึงจะถือว่าใช้ได้
ข้อ ๓๒ ให้นายกสมาคมมีอำนาจสั่งจ่ายเงินของสมาคมได้ครั้งละไม่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท (สามแสนบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่านั้นจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ และคณะกรรมการจะอนุมัติให้จ่ายเงินได้ครั้งละไม่เกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านบาทล้วน) ถ้าจำเป็นจะต้อง่ายเกินกว่านี้ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ของสมาคม
ข้อ ๓๓ ให้เหรัญญิกมีอํานาจเก็บรักษาเงินสดของสมาคมได้ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่าจํานวนนี้ จะต้องนําฝากธนาการในบัญชีของสมาคมทันทีที่ โอกาสอำนวยให้
ข้อ ๓๔ เหรัญญิกจะต้องทำบัญชีรายรับ รายจ่าย และบัญชีงบดุลให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ การรับเงินทุกครั้งจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ และนำเรียนนายกสมาคมเพื่อทราบ การจ่ายเงินทุกครั้งจะต้องได้รับอนุมัติเป็นหนังสือจากผู้มีอำนาจอนุมัติตามข้อบังคับข้อ ๓๒ หรือตามระเบียบการเงิน การบัญซี ที่สมาคมกําหนด
ข้อ ๓๕ ผู้สอบบัญชีจะต้องมิใช่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคม และจะต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาต
ข้อ ๓๖ ผู้สอบบัญชี มีอำนาจที่จะเรียกเอกสารเกี่ยวกับการเงินและทรัพย์สินจากคณะกรรมการและสามารถ
จะเชิญกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่ของสมาคมเพื่อสอบถามเกี่ยวกับบัญชีและทรัพย์สินของสมาคมได้
ข้อ ๓๗ คณะกรรมการจะต้องให้ความร่วมมือกับผู้สอบบัญชี เมื่อได้รับการร้องขอ
หมวดที่ ๖
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับและการเลิกสมาคม
ข้อ ๓๘ ข้อบังคับของสมาคมจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่เท่านั้น และองค์ประชุมใหญ่ให้เป็นไปตามข้อบังคับข้อ ๒๗ มติของที่ประชุมใหญ่ในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับจะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด
ข้อ ๓๙ การเลิกสมาคมจะเลิกได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่ของสมาคม ยกเว้นเป็นการเลิกเพราะเหตุของกฎหมาย มติของที่ประชุมใหญ่ที่ให้เลิกสมาคมจะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๓ ใน ๔ ของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชมทั้งหมด และองค์ประชุมใหญ่จะต้องไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญทั้งหมค
ข้อ ๔๐ เมื่อสมาคมต้องเลิก ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆก็ตาม ทรัพย์สินของสมาคมที่เหลืออยู่หลังจากที่ได้ชำระบัญชีเป็นที่เรียบร้อยแล้วให้ตกเป็นของโรงพยาบาลศรีสะเกษ
หมวดที่ ๗
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๔๑ ข้อบังคับฉบับนี้นั้น ให้เริ่มใช้บังคับนับตั้งแต่มีกรรมการสมาคมชุดถัดไป
( ลงชื่อ ) นายสิทธิชัย ภูทิพยผู้ จัดทำข้อบังคับ
( นายสิทธิชัย ภูทิพย์ )
นายกสมาคมชาวศรีสะเกษ
|